25/3/52

งานค้นหาบทคัดย่อ

ชื่อสถาบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาศาสตร์ (โรคพืช)
ปีที่จบการศึกษา 2546
ชื่อนิสิต จิตรา เกาะแก้ว
ชื่อวิทยานิพนธ์ ความหลากหลายของเชื้อราบนวัชพืชที่เป็นโรคในแปลงผักและแนวทางการนำมาใช้
ควบคุมวัชพืชทางชีวภาพ
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา รศ. เลขา มาโนช, Ph.D.
บทคัดย่อ
ได้เก็บตัวอย่างวัชพืชที่เป็นโรคใบจุด และใบไหม้บริเวณแปลงปลูกผักอ. กำแพงแสน จ. นครปฐม (ข้าวโพดอ่อน และหน่อไม้ฝรั่ง) และ อ. ไทรน้อย จ. นนทบุรี(ผักกาดหัว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง และขึ้นฉ่าย) ในเดือนเมษายน กรกฎาคม พฤศจิกายน 2546พบวัชพืช 13 ชนิดแสดงอาการเป็นโรค ได้แก่ แห้วหมู (วงศ์ Cyperaceae) ผักปลาบใบกว้าง(Commelinaceae) หญ้าขจรจบดอกเล็ก หญ้าโขย่ง หญ้าตีนกา หญ้าตีนติด หญ้าตีนนกหญ้านกสีชมพู หญ้าปากควาย (Poaceae, Graminea) ผักเบี้ยหิน (Aizoaceae) ผักขม(Amaranthaceae) น้ำนมราชสีห์ และ ผักยาง (Euphorbiaceae) นำวัชพืชมาแยกเชื้อสาเหตุโรคพืชโดยวิธี tissue transplanting และ moist chamber บนอาหารวุ้น potatodextrose agar สามารถแยกราจากวัชพืชได้จำนวน 642 สายพันธุ์ (isolate) จำแนกเป็น21 genera 34 species ได้แก่ ~iAlternaria alternata, Aspergillus flavus, Bipolarisbicolor, Chaetomella raphigera, Colletotrichum capsici, Colletotrichumgloeosporioides, Curvularia affinis, C. brachyspora, C. clavata, C. geniculata,C. inaequalis, C. intermedia, C. lunata, C. pallescens, C. penniseti,C. senegalensis, C. sorghina, Drechslera halodes, D. holmii, Emericellavareicolor, Exselohilum rostratum, Fusarium oxysporum, F. semitectum,F. solani, Myrothecium cinctum, M. verrucaria, Neosartorya fischeri,Nigrospora oryzae, Phaeotrichoconis crotalaria, Pestalotiopsis guepinii,Phoma jolyana, P. tropica, Pyricularia grisea, Sordaria~i sp., ~iStemphyliumsarciniforme, Talaromyces~i sp. และ unidentify Coelomycetes การทดสอบความสามารถในการทำให้เกิดโรคของเชื้อรากับวัชพืชและผักทดสอบ ได้ใช้เชื้อรา ~iDrechslera holmii, Exselohilum rostratum~i และ ~iStemphyliumsarciniforme~i ทดสอบกับแห้วหมู หญ้าปากควาย ผักเบี้ยหิน ผักคะน้า และ กวางตุ้งในเรือนปลูกพืชทดลอง เมื่อพืชอายุ 4 สัปดาห์ ทำแผลที่ใบและฉีดพ่น spore suspensionของเชื้อราทั้ง 3 ชนิด ที่ความเข้มข้น 10('6) spore/ ml พบว่าเชื้อรา ~iD. holmii~iที่แยกได้จากหญ้าปากควาย ทำให้หญ้าปากควายมีอาการใบจุดแผลสีน้ำตาลขนาดเล็ก พืชเกิดโรคไม่รุนแรง และรานี้ไม่สามารถทำให้พืชทดสอบอื่นเป็นโรคในสภาพแวดล้อมเดียวกันเชื้อรา ~iExselohilum rostratum~i จากหญ้าปากควาย ทำให้หญ้าปากควายเกิดโรครุนแรงพืชมีอาการจุดสีน้ำตาล เกิดกระจาย ทั่วใบ แผลขยายใหญ่รวมกันเป็นแผลไหม้ ไม่พบว่าเชื้อรา ~iExselohilum rostratum~i ทำให้พืชทดสอบชนิดอื่นเป็นโรคในสภาพแวดล้อมเดียวกัน เชื้อรา ~iStemphylium sarciniforme~i จากผักเบี้ยหินทำให้ผักเบี้ยหินเป็นโรคใบจุด แผลขยายตัวรวมกันเป็นแผลขนาดใหญ่ บริเวณแผลมีเชื้อราเจริญอยู่ และเชื้อรา ~iStemphylium sarciniforme~i ไม่ทำให้พืชทดสอบอื่น ๆ เป็นโรคในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ดังนั้น ~iExselohilum rostratum~i และ ~iStemphyliumsarciniforme~i เป็นเชื้อราที่มีศักยภาพในการพิจารณานำมาใช้ในการควบคุมวัชพืช เช่นหญ้าปากควายและผักเบี้ยหินในแปลงผักทางชีววิธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น