29/5/52

ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biological Diversity หรือ Biodiversity) มีความหมายกว้างไกลมากกว่าคำว่า สิ่งมีชีวิต (Life) สรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนี้เป็นผลพวงมาจากกระบวนการการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการตามกาลเวลาและตามสภาวะสมดุลของธรรมชาติ อันประกอบด้วยถิ่นอาศัย (Habitat) หลายประเภทนั่นคือ ธรรมชาติสร้างสรรค์จรรโลงสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นคำใหม่ สำหรับประชาชนคนไทยที่ไม่คุ้นเคยกับวิชาการด้านชีววิทยา ในช่วงระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมาเริ่มมีการพูดจาเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้นในสื่อมวลชน และกลุ่มคนไทยในเชิงของคุณค่ามหาศาลของพืชสมุนไพร ความหลากหลายของพรรณไม้และพันธุ์สัตว์เศรษฐกิจตลอดจนสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก พวกจุลินทรีย์และเห็ดราอื่นๆ มียังมีอยู่มากมายในป่าเขตร้อนในทุกภาคของประเทศไทย และความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพที่มีผลต่อสมดุลระบบนิเวศ ทรัพยากรชีวภาพเหล่านี้ล้วนมีคุณค่าต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวไทยทุกหมู่เหล่า ในอดีตที่ผ่านมาบรรพชนไทยได้รับผลประโยชน์จากคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของประชาชนไทยที่สร้างสรรค์และสั่งสมสืบสานกันมายาวนานในรูปลักษณ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน ในประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพมากมายกระจัดกระจายอยู่ตามถิ่นอาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งทางบกและทางน้ำ มีพรรณไม้ที่ศึกษาแล้วประมาณ 20,000 ชนิด และพันธุ์สัตว์ประมาณ 12,000 ชนิด ส่วนพวกจุลินทรีย์นั้นยังรู้จักกันน้อย นักวิชาการคาดคะเนว่าน่าจะมีสิ่งมีชีวิตอีกมากมาย อาจมีถึง 100,000 ชนิด ที่ยังไม่ได้มีการนำมาศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลกันอย่างจริงจัง และสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันนั้น อาจมีจำนวนไม่น้อยที่มีคุณค่าทางด้านทรัพยากรพันธุกรรม ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นยาและอาหาร และผลิตภัณฑ์เคมีอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ได้

1. ความหมายและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ 1.1 ความหมาย ความหลากหลายทางชีวภาพตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Biodiversity” นักชีววิทยากล่าวถึง ความหลากหลายทางชีวภาพใน 3 ระดับ ดังนี้ 1.1.1 ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Diversity) ความหลากหลายขององค์ประกอบทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต ซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปทั้งภายในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันและระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน ระดับความแตกต่างนี่เองที่ใช้กำหนดความใกล้ชิดหรือความห่างของสิ่งมีชีวิตในสายวิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตที่สืบทอดลูกหลานด้วยการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ หรือสิ่งมีชีวิตที่เป็นฝาแฝดเหมือน ย่อมมีองค์ประกอบพันธุกรรมเหมือนกันเกือบทั้งหมด เนื่องจากเปรียบเสมือนภาพพิมพ์ของกันและกัน สิ่งมีชีวิตที่สืบทอดจากต้นตระกูลเดียวกัน ย่อมมีความคล้ายคลึงกันทางพันธุกรรม มากกว่าสิ่งมีชีวิตที่มิใช่ญาติกันยิ่งห่างก็ยิ่งต่างกันยิ่งขึ้น จนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตต่างชนิด ต่างกลุ่ม หรือต่างอาณาจักรกันตามลำดับ นักชีววิทยามีเทคนิคการวัดความหลากหลายทางพันธุกรรมหลายวิธี แต่ทุกวิธีอาศัยความแตกต่างขององค์ประกอบทางพันธุกรรมเป็นดัชนีในการวัด หากสิ่งมีชีวิตชนิดใดมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด ย่อมแสดงว่าสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไม่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม 1.1.2 ความหลากหลายของชนิดหรือชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (Species Diversity) ความหลากหลายแบบนี้วัดได้จากจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิต และจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด รวมทั้งโครงสร้างอายุและเพศของประชากรด้วย 1.1.3 ความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecological Diversity) ระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งของถิ่นที่อยู่อาศัย (Habitat) ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ซึ่งมีปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบนิเวศนั้น สิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการมาในทิศทางที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในระบบนิเวศที่หลากหลาย แต่บางชนิดก็อยู่ได้เพียงระบบนิเวศที่มีสภาวะเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ความหลากหลายของระบบนิเวศขึ้นอยู่กับชนิดและวิวัฒนาการในอดีตและมีขีดจำกัดที่จะดำรงอยู่ในภาวะความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากรของมันเองส่วนหนึ่ง และขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง หากไม่มีทั้งความหลากหลายทางพันธุกรรมและความหลากหลายของระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตกลุ่มนั้นย่อมไร้ทางเลือกและหมดหนทางที่จะอยู่รอด เพื่อสืบทอดลูกหลายต่อไป 1.2 ความสำคัญ ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นเอกลักษณ์ประจำโลกของเรา ทำให้โลกเป็นดาวเคราะห์ที่แตกต่างจากดาวเคราะห์อื่นในสุริยจักรวาล ดังนั้น ในระดับมหภาคความหลากหลายทางชีวภาพจึงช่วยธำรงโลกใบนี้ให้มีบรรยากาศ มีดิน มีน้ำ มีอุณหภูมิและมีความชื้นอย่างที่เป็นอยู่ให้ได้นานที่สุด สำหรับความสำคัญต่อมนุษย์นั้นมีมากมายมหาศาล เนื่องจากมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของชีวภาพ จึงต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตด้วยกันเพื่อการดำรงอยู่ของชาติพันธุ์ต่างๆ มนุษย์จึงใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพในทุกด้านและใช้มากกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ด้วย เพราะนอกจากจะใช้ประโยชน์ด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัยเพื่อความอยู่รอดแล้ว ยังใช้ในด้านการอำนวยความสะดวกสบาย ความบันเทิงและอื่นๆ อย่างหาขอบเขตมิได้ ในวิวัฒนาการมีมนุษย์เกิดขึ้นเพียงประมาณ 1 แสนปีมาแล้ว ดังนั้น เมื่อเทียบกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพก่อนที่จะมีมนุษย์อยู่ในโลกนี้ มนุษย์จึงมีช่วงเวลาที่จะรู้จักและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายนี้น้อยมาก แต่เพียงเล็กน้อยเท่านี้ก็ทำให้มนุษย์เพิ่มจำนวนประชากรขึ้นอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ชนิดใดๆ การขยายถิ่นฐาน รวมทั้งการขยายขอบเขตของการใช้ทรัพยากรชีวภาพ เพื่อความอยู่รอดและความพออยู่พอกินมาเป็นความฟุ่มเฟือยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้มนุษย์ได้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในอัตราที่เร็วกว่าปกตินับพันเท่า ซึ่งแท้จริงแล้วความหลากหลายทางชีวภาพเป็นสมบัติพื้นฐานที่จะทำให้มนุษยชาติอยู่รอด คงมีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นจำนวนมากที่ได้สูญเสียไปแล้วด้วยน้ำมือมนุษย์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก่อนที่มนุษย์ได้มีโอกาสนำมาใช้ประโยชน์เสียด้วยซ้ำไป 2. สาเหตุของความหลากหลายทางชีวภาพ 2.1 สาเหตุของความหลากหลายทางพันธุกรรม ได้กล่าวมาแล้วว่าพื้นฐานของความหลากหลายทางชีวภาพ คือ ความหลากหลายทางพันธุกรรม ซึ่งมีปฐมเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของหน่วยพันธุกรรมหรือยีน (Gene) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่นักพันธุศาสตร์เรียกกันว่า มิวเตชัน (Mutation) มิเตชันเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ แต่ละหน่วยพันธุกรรม มีอัตรามิวเตชันไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น เกิดในอัตราประมาณ 1 ใน 100,000 ต่อชั่วรุ่น แต่บางอย่างเกิดได้มากขึ้น เช่น เกิดในอัตราประมาณ 1 ใน 10,000 ต่อชั่วรุ่น เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถสืบทอดสิ่งที่เปลี่ยนแปลงนี้ไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ในธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นจากความผิดพลาดโดยบังเอิญของกลไกการแบ่งตัวของหน่วยพันธุกรรมหรืออาจถูกรบกวนจากรังสีตามธรรมชาติ แต่หากมีสิ่งก่อเกิดมิวเตชันมากขึ้น จ ากการกระทำโดยตรงหรือโดยอ้อมของมนุษย์ เช่น สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ กัมมันตรังสีต่างๆ เป็นต้น ก็จะทำให้อัตรามิวเตชันสูงกว่าอัตราปกติเป็นอันมาก แม้ว่ามิวเตชันจำนวนมากจะเป็นภัยต่อสิ่งมีชีวิต เพราะหน่วยพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตมักผ่านกระบวนการปรับตัวมาอย่างดีแล้ว แต่มิวเตชันก็เป็นอีกสาเหตุเบื้องต้นของความหลากหลายทางพันธุกรรม ซึ่งเมื่อผนวกกับปัจจัยเสริมต่างๆ ก็ทำให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศได้ นอกจากนี้ การนำพันธุ์ใหม่ๆ เข้ามาในกลุ่มอาจจะโดยการอพยพย้ายถิ่นหรือการนำเข้าโดยมนุษย์ก็ทำให้พันธุกรรมมีความหลากหลายเช่นเดียวกัน การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ทำให้หน่วยพันธุกรรมจากสองแหล่งมีโอกาสมาพบกันและรวมกลุ่มกันใหม่ ทำให้มีการรวมกลุ่มของลักษณะต่างๆ อย่างหลากหลายได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ อาทิ การถ่ายทอดหน่วยพันธุกรรมให้แก่เซลล์ โดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์และเทคโนโลยีระดับโมเลกุลก็เป็นวิธีการสร้างความหลากหลายของกลุ่มหน่วยพันธุกรรมได้เช่นเดียวกัน 2.2 สาเหตุของความหลากหลายของชนิดของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตที่มีหลากหลายชนิดเกิดจากกระบวนการวิวัฒนาการที่ค่อยๆ สะสมองค์ประกอบทางพันธุกรรมทีละน้อยๆ ในเวลาหลายชั่วรุ่นจนกระทั่งสิ่งมีชีวิตมีความสามารถในการปรับตัวได้ดีต่อสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ หรือ ที่นักชีววิทยาเรียกว่า “Speciation” นั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่สามารถสืบพันธุ์ได้เฉพาะภายในกลุ่มของตนเอง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดพันธุกรรมให้กับสิ่งมีชีวิตต่างชนิดได้ ดังนั้น การเกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ จึงเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต แม้จะดำรงชีวิตอยู่ในที่เดียวกัน แต่ละชนิดก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของกลุ่มของตนเองเอาไว้ได้ โดยทั่วไปแล้วสิ่งมีชีวิตใหม่มักจะมีรูปร่างลักษณะภายนอกแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็อาจจะไม่จำเป็นเสมอไป ปัจจัยสำคัญของการเกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ จึงได้แก่การพัฒนาระบบและกลไกการสืบพันธุ์เฉพาะภายในกลุ่มของตนเอง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ส่วนใหญ่จะใช้เวลายาวนานหลายชั่วรุ่นโดยผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติ ซึ่งจะคัดพันธุ์ที่ด้อยกว่าในด้านการสืบทอดลูกหลานออกไปจากกลุ่มในอัตราที่เร็วช้าต่างกันไปตามความเข้มของการคัดเลือกตามธรรมชาติ นักชีววิทยาอธิบายว่า การที่สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่เกิดขึ้นได้นั้น น่าจะมีสภาวะบางประการที่ทำให้ประชากร ซึ่งเคยเป็นพวกเดียวกันมีอันต้องตัดขาดจากกัน สภาวะนี้อาจจะเป็นสภาพภูมิศาสตร์ซึ่งขวางกั้นมิให้มีการผสมพันธุ์ระหว่างกัน ทำให้ต่างฝ่ายต่างมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วน และองค์ประกอบของหน่วยพันธุกรรมภายในกลุ่มของตนเองโดยไม่มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนหน่วยพันธุกรรมกับกลุ่มอื่น จนในที่สุดต่างฝ่ายต่างก็มีวิวัฒนาการไปตามทางของตน โดยการคัดเลือกตามธรรมชาติในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน แม้ว่าต่อมาจะมีโอกาสพบกันก็ไม่สามารถสืบทอดลูกหลานร่วมกันได้อีกต่อไป นอกจากนี้มนุษย์ยังอาจทำหน้าที่คัดเลือกพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์พืชและสัตว์ที่ตนต้องการ วิธีนี้เป็นการเลียนแบบธรรมชาติซึ่งสามารถทำให้เกิดสิ่งที่มีชีวิตชนิดใหม่ๆ เช่นเดียวกันต่างกันแต่เพียงว่าสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ๆ เหล่านี้อาจจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่มนุษย์กำหนดขึ้นเท่านั้น อาจจะไม่สามารถดำรงอยู่ตามธรรมชาติได้จึงไม่น่าจะยั่งยืน และไม่มีประโยชน์มากนักต่อความหลากหลายทางชีวภาพตามธรรมชาติ ยังมีการเกิดสิ่งมีชีวิตใหม่อย่างฉับพลันด้วยระบบและกลไกอื่นอีกบ้างแต่ปรากฏการณ์นี้ เท่าที่พบก็ยังเกิดขึ้นได้น้อยมาก ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ การสุ่มเสี่ยงของสิ่งมีชีวิตที่มีประชากรขนาดเล็ก การสุ่มเสี่ยงดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่สิ่งมีชีวิตซึ่งมีลักษณะเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมถูกคัดออกไปโดยบังเอิญ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งสิ่งมีชีวิตซึ่งมีลักษณะด้อยกว่าอาจจะอยู่รอดได้หรือมีจำนวนมากกว่า ทั้งนี้ด้วยความบังเอิญมากกว่าความสามารถในการปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นกรณีการคัดเลือกพันธุ์หรือกรณีการสุ่มเสี่ยงโดยบังเอิญ ระบบนิเวศจะเป็นปัจจัยสำคัญเสมอในการกำหนดความยั่งยืนของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นแม้จะมีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากกมายหลายชนิดเพียงใดก็ตาม แต่หากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นปรับตัวโดยมีความสัมพันธ์ต่อกันและกันอย่างแน่นแฟ้น การสูญไปของสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวย่อมหมายถึงการสูญเสียสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเป็นลูกโซ่ตามๆ กันไป 2.3 สาเหตุของความหลากหลายของระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมีความพันธ์ต่อกันไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อม ในวงจรการถ่ายทอดพลังงาน โดยที่ต่างก็เป็นองค์ประกอบของกันและกันในห่วงโซ่อาหารหรือสายใยอาหารระบบนิเวศที่มีสิ่งมีชีวิตสัมพันธ์กันแน่นแฟ้นหรือมีเงื่อนไข หรือข้อจำกัดที่เฉพาะเจาะจงในด้านถิ่นที่อยู่อาศัยมากเพียงใดระบบนิเวศนั้นย่อมอยู่ในภาวะเสี่ยงมากกว่าระบบนิเวศอื่นเพราะปัจจัยใดที่กระทบต่อสิ่งมีชีวิตเพียงส่วนน้อยย่อมมีผลกระทบต่อระบบนิเวศนั้นทั้งหมด โดยทั่วไปแล้ว ระบบนิเวศที่ยั่งยืนมักจะผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่มาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน จนกระทั่งระบบนั้นมีกลไกทั้งทางชีวภาพและกายภาพที่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ดี สภาพระบบนิเวศเช่นนี้จัดว่าเป็นระบบนิเวศในสภาวะสมดุล คำว่า “สมดุล” ในที่นี้มิได้หมายความว่าทุกอย่างคงที่ แต่หมายถึงสภาวะที่ระบบนิเวศสามารถปรับตัวเข้าสู่สภาวะเดิมได้เมื่อประสบกับการเปลี่ยนแปลง ระบบนิเวศในลักษณะเช่นนี้ มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ได้แก่ป่าไม้ประเภทต่างๆ และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น ทะเล ทะเลสาบ เป็นต้น ระบบนิเวศเหล่านี้จึงเป็นแหล่งของความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นที่พึ่งที่มั่นคงและยั่งยืนของมนุษย์ พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ภายในระบบนิเวศเหล่านี้ได้มีการสะสมแหล่งพันธุกรรมไว้เป็นจำนวนมหาศาล โดยผ่านขั้นตอนของวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์มาเป็นระยะเวลายาวนานกว่าการกำเนิดของมนุษย์นับร้อยล้านเท่า แม้มนุษย์จะพยายามจำลองระบบเหล่านี้เพียงใดก็ทำได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งไม่อาจเปรียบเทียบกับธรรมชาติได้ เรายังคงต้องรักษาระบบนิเวศเหล่านี้เอาไว้ให้ดีเพื่อให้เป็นแหล่งพันธุกรรมที่อุดมสมบูรณ์ 3. การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อทราบสาเหตุของความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว เราย่อมทราบสาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพด้วย การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเป็นการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่น่ากลัวที่สุด เพราะการสูญพันธุ์ หมายถึง การหมดสิ้นไปของแหล่งพันธุกรรมจำนวนมากพร้อมๆ กันทั้งหมดโดยไม่อาจหารือสร้างมาทดแทนได้ สาเหตุพื้นฐานที่ทำให้สิ่งมีชีวิตเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ได้แก่ 3.1 การขาดแคลนความหลากหลายทางพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตที่มีองค์ประกอบทางพันธุกรรม เพียงแบบเดียวจะมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตที่ไม่ทางเลือกอื่นเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยที่จะส่งผลให้มีความหลากหลายทางพันธุกรรมลดลง ได้แก่ การผสมพันธุ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เดียวกัน การผสมพันธุ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมือนกัน การไม่มีการย้ายถิ่น การที่จำนวนประชากรมีขนาดเล็กและสิ่งแวดล้อมแปรปรวนอย่างฉับพลัน เป็นต้น 3.2 การลดลงของจำนวนประชากรในแต่ละถิ่นที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิตแต่ละหน่วยเกิดขึ้นและตายไป แต่ประชากรของสิ่งมีชีวิตนั้นยังคงอยู่เพราะสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดสืบทอดลูกหลานชนิดเดียวกับตัวเองได้ ดังนั้นความยั่งยืนของประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการดำรงหรือการเพิ่มจำนวนลูกหลานในรุ่นต่อๆ ไป ความสำคัญจึงขึ้นอยู่กับว่าประชากรนั้นมีความสามารถในการเจริญพันธุ์มากน้อยเพียงใด ซึ่งเชื่อมโยงกับจำนวนของประชากรในวัยเจริญพันธุ์ อัตราส่วนของเพศ อัตราการเจริญพันธุ์ อัตราการอยู่รอดของประชากรก่อน วัยเจริญพันธุ์ และโอกาสการจับคู่ผสมพันธุ์ ดังนั้น เมื่อประชากรที่เจริญพันธุ์ได้ประสบปัญหาจำนวนลดลงจึงเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของประชากรนั้น นอกจากนี้ประชากรขนาดเล็กยังทำให้เกิดสภาพการสุ่มเสี่ยงทางพันธุกรรมและเกิดการผสมพันธุ์ในหมู่ญาติโดยปริยาย ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมลดลง เป็นการเพิ่มอัตราเสี่ยงอีกทางหนึ่งด้วย 3.3 การสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอยู่รอดสืบทอดลูกหลานได้ถ้าไม่มีถิ่นที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิตจำนวนมากต้องการถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติจึงจะสืบทอดลูกหลานได้ คำว่า “ถิ่นที่อยู่อาศัย” มิได้หมายความเฉพาะพื้นที่เท่านั้น แต่หมายรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นองค์ประกอบทั้งชีวภาพและกายภาพด้วย พืชและสัตว์จำนวนมากกำลังสูญพันธุ์ด้วยเหตุนี้ การที่ป่าผืนใหญ่ หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ถูกตัดให้เป็นส่วนเล็กส่วนน้อย (Fragmentation) แม้ว่าเนื้อที่รวมกันอาจจะไม่ลดลง แต่ก็ทำให้สภาพถิ่นที่อยู่อาศัยถูกตัดขาดจากกัน ประชากรในแต่ละส่วนจึงเผชิญกับภาวะเสี่ยงตามที่ได้กล่าวมาแล้วเช่นเดียวกัน การสูญพันธุ์อย่างรวดเร็วกำลังเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในเขตป่าชื้นเขตร้อนรวมทั้งประเทศไทยด้วย ประมาณกันว่าในสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้จะมีการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ในโลกนี้ไม่น้อยกว่า 20-50% และส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในป่าชื้นเขตร้อนนั่นเอง

4. ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย นักวิชาการประมาณการว่า สิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีประมาณ 5 ล้านชนิด ในจำนวนนี้มีอยู่ในประเทศไทย ประมาณร้อยละ 7 ประเทศไทยมีประชากรเพียงร้อยละ 1 ของประชากรโลก ดังนั้นเมื่อเทียบสัดส่วนกับจำนวนประชากร ประเทศไทยจึงนับว่ามีความร่ำรวยอย่างมากในด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตในประเทศไทยหลากหลายได้มาก เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลายและแต่ละแหล่งล้วนมีปัจจัยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต นับตั้งแต่ภูมิประเทศแถบชายฝั่งทะเลที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบลอนคลื่น และภูเขาที่มีความสูงหลากหลายตั้งแต่เนินเขาจนถึงภูเขาที่สูงชันถึง 2,400 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประเทศไทยจึงเป็นแหล่งของป่าไม้นานาชนิด ได้แก่ ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าสนเขา อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมหาศาล เนื่องจากหลายสาเหตุด้วยกัน อาทิ การเพิ่มของประชากรทำให้มีการบุกเบิกป่าเพิ่มขึ้น การให้สัมปทานป่าไม้ที่ขาดการควบคุมอย่างเพียงพอ การตัดถนนเข้าสู่พื้นที่ป่าการเกษตรเชิงอุตสาหกรรม การแพร่ของเทคโนโลยีที่ใช้ทำลายป่าได้อย่างรวดเร็ว การครอบครองที่ดินเพื่อเก็งกำไร เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ซึ่งเคยมีมากถึงประมาณ 2.7 แสนตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 53 ของพื้นที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2504 เหลือเพียงประมาณ 1.3 แสนตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 26 ในปี พ.ศ. 2536 ข้อมูลนี้จากการศึกษาตามโครงการ VAP 61 โดยคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2539, หน้า 47) แสดงว่าพื้นที่ป่าไม้ลดลงเท่าตัวในช่วงเวลา 32 ปี และส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับป่าบนภูเขาและป่าชายเลน ยังผลให้พืชและสัตว์สูญพันธุ์ อาทิ เนื้อสมัน แรด กระซู่ และกูปรี และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้นี้อีกเป็นจำนวนมาก อาทิ ควายป่า ละอง ละมั่ง เนื้อทราย กวางผา เลียงผา สมเสร็จ เสือลายเมฆ เสือโคร่ง และช้างป่า รวมทั้งนก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน แมลง และสัตว์น้ำอีกเป็นจำนวนมาก การทำลายป่าก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แหล่งน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์เริ่มลดน้อยลง ผืนป่าที่เหลืออยู่ไม่สามารถซับน้ำฝนที่ตกหนัก เกิดปรากฏการณ์น้ำท่วมฉับพลัน ยังผลให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจ บ้านเรือน และความปลอดภัยของชีวิตคนและสัตว์เป็นอันมาก เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมที่อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เหตุการณ์พายุเกย์ถล่มจังหวัดชุมพร และเหตุการณ์น้ำท่วมในที่ต่างๆ เป็นต้น ปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย จึงเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วน ที่จะต้องช่วยกันแก้ไขด้วยการหยุดยั้งการสูญเสียระบบนิเวศป่าทุกประเภท การอนุรักษ์สิ่งที่เหลืออยู่และการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่ป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพดังเดิม เพราะความหลากหลายเหล่านั้น เป็นพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน สังคมไทยมีพื้นฐานมาจากสังคมเกษตรกรรม และเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก วัฒนธรรมไทยหลายอย่างผูกพันกับการแสดงออกซึ่งความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณในการเพาะปลูก คนไทยแต่โบราณกาลจึงมีการอ่อนน้อมต่อธรรมชาติและผูกพันกับธรรมชาติอย่างแยกกันไม่ออก นับว่าคนไทยมีพื้นฐานเชิงวัฒนธรรมพร้อมมูลอยู่แล้ว แม้ว่าการศึกษาสมัยใหม่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าแต่การใช้เทคโนโลยีและวิชาการอย่างไม่เข้าใจหลักการและความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ย่อมนำสังคมไปสู่หายนะในระยะยาว แม้ว่าในระยะสั้นจะดูเหมือนว่ามีความเจริญรุ่งเรืองก็ตาม
สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกในประเทศไทย
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนโลกจัดว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ ซึ่งสิ่งมีชีวิตบนโลกทั้งหมดที่มีประมาณ 10 ล้านชนิด กลับมีเพียงส่วนน้อยหรือประมาณ 10-15% ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ที่ถูกค้นพบและได้รับการตั้งชื่อ ดังนั้นจึงมีสิ่งมีชีวิตอีกเป็นจำนวนมากที่ยังคงรอคอยการค้นพบและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อจำแนกประเภทของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นต่อไป แต่การจะจำแนกสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก (new species) ไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน แต่ต่างเพศกัน อาจมีรูปร่างลักษณะภายนอกที่แตกต่างกัน จนทำให้นักอนุกรมวิธานจำแนกสิ่งมีชีวิตนั้นเป็นชนิดที่แตกต่างกัน และเมื่อตัวอย่างสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งถูกคาดหมายว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ นักอนุกรมวิธานต้องทำงานอย่างหนักเป็นระยะเวลายาวนานเพื่อจะยืนยันให้ได้ว่า สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นได้รับการจำแนกชื่อแล้ว หรือเป็นเพียงแค่ความผันแปร (variation) ทางด้านรูปร่างลักษณะภายนอกของสิ่งมีชีวิตที่ทราบชื่อแล้ว การจัดจำแนกชนิดของสิ่งมีชีวิตได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกโดยลินเนียส (Carl Linneaus) เมื่อปี 1735 เพื่อจัดจำแนกตัวตน (entity) และหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเมื่อศึกษาอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่าแนวคิดและแนวปฏิบัติของการจำแนกหมวดหมู่และการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ดังกล่าวเป็นทั้งปรัชญา และวิวัฒนาการของการพัฒนาองค์ความรู้ของมนุษยชาติ เพราะทำให้คนสามารถสื่อสารกันและพัฒนาความรู้ดังกล่าวต่อไปได้ ดังเช่นทำไมมนุษย์ถึงรู้ ว่างูเห่าเป็นงูพิษ และรู้ว่าหนอน Opisthorchis viverini ทำให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ตับกับคนอีสาน หรือรู้ว่าเชื้อไข้หวัดนกที่ระบาดไปทั่วโลกเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ H5N1 เป็นต้น
ประเทศไทยจัดเป็นพื้นที่แห่งหนึ่งที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ดังจะเห็นได้จากผลงานการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกในประเทศไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนถึง 548 ชนิด ตั้งแต่กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กพบในเกือบทุกระบบนิเวศ กลุ่มสาหร่าย แพลงก์ตอน และไลเคน กลุ่มพืชและสัตว์ไปจนถึงกลุ่มซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังจนได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร “Nature” ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่ค้นพบในประเทศไทย พอสรุปได้ดังนี้
กราฟแสดงจำนวนสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกจากการสนับสนุนทุนวิจัยของโครงการ BRT พ.ศ. 2539-2548


ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก
สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ในกลุ่มพืช มีการค้นพบพืชชนิดใหม่จำนวน 49 ชนิด ในหลายวงศ์ เช่น วงศ์อบเชย, วงศ์เปล้า, วงศ์บุกบอน, วงศ์ขิง, วงศ์กระดังงา วงศ์บุกบอน วงศ์จิก วงศ์ละมุด และวงศ์กระดุม พืชที่ค้นพบชนิดใหม่ล้วนแล้วแต่เป็นพืชในวงศ์ที่มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์ เช่น วงศ์อบเชย ที่เป็นทั้งพืชอาหารและยา รวมทั้งมีกลิ่นหอม ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมสปาอย่างแพร่หลาย ส่วนพืชวงศ์เปล้าเป็นพืชรู้จักกันดีว่าคุณค่าทางด้านการแพทย์ ตัวอย่างเช่น “เปล้าน้อย” ซึ่งได้รับการพัฒนาจนเป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารที่มีชื่อเสียง สำหรับพืชวงศ์บุกบอนบางชนิดมีดอกสวยงาม จนกลายเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่มีราคาขายตามท้องตลาดค่อนข้างสูง การค้นพบไม้วงศ์บุกบอนชนิดใหม่จะทำให้อนาคตวงการไม้ดอกไม้ประดับมีทางเลือกมากขึ้น ส่วนพรรณไม้หอมของไทย เช่น ไม้วงศ์กระดังงา มีความหลากหลายสูงและมีคุณค่าในเชิงเศรษฐกิจ ไม้ดอกหอมบางชนิด เช่น ลั่นทม ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของธุรกิจสปา ดอกขายได้ราคางาม นอกจากนั้นกลิ่นของไม้ดอกหอมที่เป็นผลผลิตจากธรรมชาติน่าจะได้รับการศึกษาวิจัยทางด้านเคมีอย่างจริงจัง เพื่อผลิตเป็นหัวน้ำหอมส่งขายต่างประเทศ สำหรับพรรณพืชต้นแบบ (type specimens) ซึ่งถือว่าเป็นสมบัติของประเทศไทย ได้รับเก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และพิพิธภัณฑ์พืชในสถาบันการศึกษาหลายแห่งของไทยที่ได้รับการลงทะเบียนอย่างเป็นสากล เพื่อเป็นตัวอย่างอ้างอิงและรอการศึกษาวิจัยต่อไป
พืชวงศ์เปล้า ชนิด Mallotus kongkandae welzen& Phattarahirankanok เป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกในวงศ์เปล้าที่ตั้งชื่อชนิดตามผู้เก็บคือ ดร.ก่องกานดา ชยามฤต กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยพรรณไม้ชนิดนี้พบเป็นครั้งแรกที่บริเวณ จ.กำแพงเพชร และจากการสำรวจพบว่าพรรณไม้ชนิดนี้ถือเป็นพืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทย โดยจะพบได้ในบริเวณทางภาคเหนือของประเทศ ที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.กำแพงเพชร

สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ในกลุ่มสัตว์ สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกที่เป็นสกุลใหม่ (new genus) มีมากกว่า 50 สกุล ชนิดใหม่ (new species) ถึง 400 ชนิด ในกลุ่มหอยทากบก, ไรสี่ขา, ไรตัวห้ำ, สัตว์หน้าดินทะเล, แมลงหนอนปลอกน้ำ, แมลงชีปะขาว, ริ้นดำ, แมงมุม, พยาธิ, ด้วงมูลสัตว์ และปลาบู่ ซึ่งจะเห็นว่าสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่ได้รับการค้นพบเกือบทั้งหมดเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เนื่องจากมีจำนวนชนิดมากในโลก ส่วนสัตว์มีกระดูกสันหลังพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่น้อย ส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยา ซึ่งการตีพิมพ์ผลงานค่อนข้างใช้เวลามากกว่า สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ทั้งหมดได้ถูกบันทึกในรายการของ Zoological Record และตัวอย่างต้นแบบ (type specimens) ส่วนใหญ่จะถูกเก็บรวบรวมเป็นหลักฐานไว้ในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาทั้งของไทยและที่เป็นสากลทั่วโลก
หอยมรกต Amphidromus (Amphidromus) atricallosus classiarius Panha หอยมรกต ได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ พบตัวอย่างในบริเวณ เกาะตาชัย จ.พังงา โดย รศ.สมศักดิ์ ปัญหา และคณะ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ในกลุ่มสาหร่าย แพลงก์ตอน และไลเคน การศึกษาอนุกรมวิธานด้านสาหร่าย แพลงก์ตอน และไลเคน ทำให้มีการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ในกลุ่มนี้จำนวน 20 ชนิด แบ่งเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ 13 ชนิด และไลเคน 7 ชนิด ที่ได้รับการตั้งชื่อและตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ องค์ความรู้ใหม่ที่ได้หักล้างรายงานการศึกษาของนักสัตวศาสตร์ต่างชาติที่ทำการศึกษาแพลงก์ตอนสัตว์เฉพาะในแหล่งน้ำถาวร และสรุปว่าประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์ต่ำ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษา โดยนักวิชาการไทยค้นพบความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์สูงมากเมื่อทำการสำรวจในแหล่งน้ำชั่วคราว ทำให้มีจำนวนสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น ในกลุ่มไรน้ำนางฟ้า, คลาโดเซอรา, โรติเฟอร์ และโคพิพอด นอกจากนั้นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้ยังเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นอาหารสัตว์น้ำจืดวัยอ่อน เช่น ไรน้ำนางฟ้าไทย สามารถนำมาพัฒนาทดแทนการนำเข้าไข่อาร์ทีเมียได้ จึงได้มีการศึกษาวิจัยต่อยอดจนสามารถจดสิทธิบัตรเทคนิคการฟักไข่ไรน้ำนางฟ้าไทย (โดยทุน สกว.)
สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ในกลุ่มจุลินทรีย์ งานวิจัยด้านจุลินทรีย์ โดยเฉพาะเชื้อราได้นำไปสู่การค้นพบเชื้อราชนิดใหม่ของโลกกว่า 100 ชนิด โดยประมาณ 66 ชนิด ได้รับการยอมรับและตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ส่วนที่เหลือกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมและทยอยตีพิมพ์ต่อไป ราชนิดใหม่ที่ค้นพบมากที่สุดคือ ราที่ก่อให้เกิดโรคในแมลง หรือ insect phathogenic fungi ซึ่งรากลุ่มนี้ยังสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจหลายชนิดอีกด้วย ความหลากหลายของราธรรมชาติที่ศึกษากระจายอยู่ในระบบนิเวศที่แตกต่างกันตั้งแต่ ในน้ำจืด น้ำเค็ม ป่า จากมูลสัตว์ ในเมล็ดพืช ในดิน และที่อยู่ร่วมกับไลเคน รวมทั้งที่คัดแยกมาจากส่วนต่างๆ ของพืช เป็นต้น ประเทศไทยในขณะนี้มีชื่อเสียงมากและเป็นที่ยอมรับในเรื่องของราแมลง เพราะเมื่อสืบค้นจากข้อมูลจากทั่วโลกพบว่า ราแมลงที่พบในประเทศไทยมีจำนวนมากที่สุดในโลกประมาณ 10,000 ตัวอย่าง โดยมีทั้งเชื้อที่คัดแยกได้ และที่คัดแยกไม่ได้แต่เป็นตัวอย่างแห้ง ซึ่งตัวอย่างจุลินทรีย์ชนิดใหม่ทั้งหมดได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดี
Cordyceps pseudomilitaris Hywel-Jones & Sivichai, 2537 เป็นราทำลาย แมลงบนหนอนผีเสื้อสีส้มชนิดใหม่ของโลกที่พบเฉพาะบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่น จังหวัดสระบุรีที่เดียว จากการสำรวจมากว่า 10 ปี โดย ดร.สมศักดิ์ ศิวิชัย และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ
สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ในกลุ่มฟอสซิล ฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่ตายลงไปแล้วถูกเก็บรักษาโดยธรรมชาติไว้ในหิน ฟอสซิลที่เราค้นพบจากแหล่งต่างๆ จะทำให้สามารถเรียนรู้และศึกษาความเป็นอยู่ การเปลี่ยนแปลงของสัตว์น้ำและสัตว์บกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในระหว่างช่วงอายุมากกว่า 200 ล้านปี ซึ่งสามารถนำไปเทียบกับชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ที่พบในยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแอฟริกา ในช่วงอายุเดียวกันก็จะหาความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ ผลการศึกษาวิจัยฟอสซิลในประเทศไทยได้เปิดเผยให้เห็นว่า ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งหนึ่งในไม่กี่แห่งของโลกที่พบฟอสซิลตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิก มีโสโซอิก และซีโนโซอิก โดยมีการค้นพบฟอสซิลสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดใหม่ 12 ชนิด โดยเป็นสกุลใหม่ชนิดใหม่ 4 สกุล ตัวอย่างต้นแบบของฟอสซิลที่พบใหม่กว่า 50 ชิ้น ได้รับการเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์
เอพโคราช หรือ Khoratpithecus piriyai ซากดึกดำบรรพ์ ซึ่ง ดร.เยาวลักษณ์ ชัยมณี กรมทรัพยากรธรณี ได้ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ผู้มอบตัวอย่างคือ นายพิริยะ วาชจิตพันธุ์ การค้นพบดังกล่าวเป็นการตอกย้ำว่า ต้นตระกูลของมนุษย์ที่เก่าแก่น่าจะอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อีกมิติหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพ ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ามิติทางวิทยาศาสตร์ คือ มิติทางสังคมศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่น การศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน จึงต้องผสมผสานกับงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ของชุมชมท้องถิ่นด้วยจึงจะครบถ้วน ในเรื่องของการสร้างองค์ความรู้ให้กับสังคมไทย เช่น การศึกษาพืชสมุนไพร พืชอาหาร พืชที่ให้สีย้อมธรรมชาติ การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่าอย่างยั่งยืน เป็นต้น ถึงแม้ว่าการศึกษาวิจัยในด้านนี้จะเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่และเป็นสหวิทยาการ แต่ความร่วมมือร่วมใจจากหลายๆ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ สถาบันการศึกษาในท้องถิ่นนั้น องค์กรเอกชน (NGOs) ปราชญ์ชาวบ้าน ฯลฯ ที่มีอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ย่อมทำให้เราสามารถอนุรักษ์และหาทางใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ ที่เปรียบเสมือนขุมทรัพย์ล้ำค่าในบ้านเมืองเราได้อย่างยั่งยืน











เอกสารอ้างอิง

ทิพยรัตน์ หาญสืบสาย. ความหลากหลายทางชีวภาพกับภูมิปัญญาท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม
2552 จาก http://www.sa.ac.th/biodiversity/contents/body_about_course.html
ธำรงศักดิ์ พลบำรุง. ความหลากหลายทางชีวภาพการปศุสัตว์. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2552 จาก
http://www.dld.go.th/organic/Essay/Livestock_part1.html
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2544). ความหลากหลายทางชีวภาพ. หนังสือชุด พัฒนาสังคมตามแนว
พระราชดำริ ชุดที่ 1 เล่มที่ 4. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2552 จาก
http://www.kroobannok.com/view.php?article_id=3733
วิสุทธิ์ ใบไม้. (2538). สถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม
2552 จาก http://www.e-travelmart.com/club_06_02.html
admin. (2551). ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity). สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2552 จาก
http://www.radompon.com/resourcecenter/?q=node/13
BRT. สังคมไทยบนความหลากหลายทางชีวภาพ. ประชาคมวิจัย, ฉบับที่ 64 , หน้าที่ 34-38. สืบค้นเมื่อ
28 พฤษภาคม 2552 จาก http://www.trf.or.th/tips/x.asp?Art_ID=116
BRT. สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2552 จาก
http://www.trf.or.th/tips/x.asp?Art_ID=114

15/5/52

งานที่ค้นจาก scholar.google.com

Dr. Hsen-Hsu Hu (1894-1968): A Founder of Modern Plant Taxonomy in China
Jinshuang Ma and Kerry Barringer
Taxon, Vol. 54, No. 2 (May, 2005), pp. 559-566
(article consists of 8 pages)
Published by: International Association for Plant Taxonomy (IAPT)
Stable URL: http://www.jstor.org/stable/25065402

Abstract
Hsen-Hsu Hu (1894-1968), an influential Chinese scientist, was the founder of modern plant taxonomy in China. His career and later status have never been fully reported outside China, even though he passed away more than thirty-seven years ago. This memorial paper describes his life, his major botanical contributions, and his turbulent final years.

แนะนำหนังสือที่น่าสนใจ

หนังสือที่น่าสนใจที่อยากแนะนำในวันนี้ คือ Plant Systems Biology สามารถดูได้ที่ http://books.google.com/books?id=u22M1X2_urIC&pg=PA1&dq=biology&lr=&hl=th#PPR11,M1

25/3/52

งานค้นหาบทคัดย่อ

ชื่อสถาบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาศาสตร์ (โรคพืช)
ปีที่จบการศึกษา 2546
ชื่อนิสิต จิตรา เกาะแก้ว
ชื่อวิทยานิพนธ์ ความหลากหลายของเชื้อราบนวัชพืชที่เป็นโรคในแปลงผักและแนวทางการนำมาใช้
ควบคุมวัชพืชทางชีวภาพ
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา รศ. เลขา มาโนช, Ph.D.
บทคัดย่อ
ได้เก็บตัวอย่างวัชพืชที่เป็นโรคใบจุด และใบไหม้บริเวณแปลงปลูกผักอ. กำแพงแสน จ. นครปฐม (ข้าวโพดอ่อน และหน่อไม้ฝรั่ง) และ อ. ไทรน้อย จ. นนทบุรี(ผักกาดหัว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง และขึ้นฉ่าย) ในเดือนเมษายน กรกฎาคม พฤศจิกายน 2546พบวัชพืช 13 ชนิดแสดงอาการเป็นโรค ได้แก่ แห้วหมู (วงศ์ Cyperaceae) ผักปลาบใบกว้าง(Commelinaceae) หญ้าขจรจบดอกเล็ก หญ้าโขย่ง หญ้าตีนกา หญ้าตีนติด หญ้าตีนนกหญ้านกสีชมพู หญ้าปากควาย (Poaceae, Graminea) ผักเบี้ยหิน (Aizoaceae) ผักขม(Amaranthaceae) น้ำนมราชสีห์ และ ผักยาง (Euphorbiaceae) นำวัชพืชมาแยกเชื้อสาเหตุโรคพืชโดยวิธี tissue transplanting และ moist chamber บนอาหารวุ้น potatodextrose agar สามารถแยกราจากวัชพืชได้จำนวน 642 สายพันธุ์ (isolate) จำแนกเป็น21 genera 34 species ได้แก่ ~iAlternaria alternata, Aspergillus flavus, Bipolarisbicolor, Chaetomella raphigera, Colletotrichum capsici, Colletotrichumgloeosporioides, Curvularia affinis, C. brachyspora, C. clavata, C. geniculata,C. inaequalis, C. intermedia, C. lunata, C. pallescens, C. penniseti,C. senegalensis, C. sorghina, Drechslera halodes, D. holmii, Emericellavareicolor, Exselohilum rostratum, Fusarium oxysporum, F. semitectum,F. solani, Myrothecium cinctum, M. verrucaria, Neosartorya fischeri,Nigrospora oryzae, Phaeotrichoconis crotalaria, Pestalotiopsis guepinii,Phoma jolyana, P. tropica, Pyricularia grisea, Sordaria~i sp., ~iStemphyliumsarciniforme, Talaromyces~i sp. และ unidentify Coelomycetes การทดสอบความสามารถในการทำให้เกิดโรคของเชื้อรากับวัชพืชและผักทดสอบ ได้ใช้เชื้อรา ~iDrechslera holmii, Exselohilum rostratum~i และ ~iStemphyliumsarciniforme~i ทดสอบกับแห้วหมู หญ้าปากควาย ผักเบี้ยหิน ผักคะน้า และ กวางตุ้งในเรือนปลูกพืชทดลอง เมื่อพืชอายุ 4 สัปดาห์ ทำแผลที่ใบและฉีดพ่น spore suspensionของเชื้อราทั้ง 3 ชนิด ที่ความเข้มข้น 10('6) spore/ ml พบว่าเชื้อรา ~iD. holmii~iที่แยกได้จากหญ้าปากควาย ทำให้หญ้าปากควายมีอาการใบจุดแผลสีน้ำตาลขนาดเล็ก พืชเกิดโรคไม่รุนแรง และรานี้ไม่สามารถทำให้พืชทดสอบอื่นเป็นโรคในสภาพแวดล้อมเดียวกันเชื้อรา ~iExselohilum rostratum~i จากหญ้าปากควาย ทำให้หญ้าปากควายเกิดโรครุนแรงพืชมีอาการจุดสีน้ำตาล เกิดกระจาย ทั่วใบ แผลขยายใหญ่รวมกันเป็นแผลไหม้ ไม่พบว่าเชื้อรา ~iExselohilum rostratum~i ทำให้พืชทดสอบชนิดอื่นเป็นโรคในสภาพแวดล้อมเดียวกัน เชื้อรา ~iStemphylium sarciniforme~i จากผักเบี้ยหินทำให้ผักเบี้ยหินเป็นโรคใบจุด แผลขยายตัวรวมกันเป็นแผลขนาดใหญ่ บริเวณแผลมีเชื้อราเจริญอยู่ และเชื้อรา ~iStemphylium sarciniforme~i ไม่ทำให้พืชทดสอบอื่น ๆ เป็นโรคในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ดังนั้น ~iExselohilum rostratum~i และ ~iStemphyliumsarciniforme~i เป็นเชื้อราที่มีศักยภาพในการพิจารณานำมาใช้ในการควบคุมวัชพืช เช่นหญ้าปากควายและผักเบี้ยหินในแปลงผักทางชีววิธี

งานค้นERIC

1. Controversy over Biomass Plant at Florida State Heats up (EJ828980)

Author(s):Mangan, Katherine
Source:Chronicle of Higher Education, v55 n19 pA16 Jan 2009
Pub Date:2009-01-16
Pub Type(s):Journal Articles; Reports - Descriptive
Peer-Reviewed:No
Descriptors:Energy Conservation; Educational Facilities Improvement; Energy Management; Controversial Issues (Course Content); Advocacy; Pollution; Ecological Factors; Strategic Planning
Abstract:This article reports that Florida State University officials are gearing up for what could be another bruising battle this month over a proposed biomass plant that could bring the campus cleaner, cheaper energy and monetary support for alternative-energy research. Or, it could bring noise and pollution to a nearby neighborhood, according to activists who have threatened to sue if the plant is approved. The City of Tallahassee has scheduled a public hearing for January 28 on the plant, which would be built on 21 acres of leased Florida State University land as part of the university's master plan. The proposed biomass plant would heat wood chips and other byproducts and convert them to gas. The gas would then be burned to produce electricity. The project would create hundreds of jobs during the construction phase and dozens of long-term jobs. The plant, which would be located near the university's engineering school, would also provide a hands-on laboratory for students to study energy efficiency. But opponents, including a half-dozen Florida State scientists, the NAACP, and some local residents, argue that the plant could endanger the health of people living in the predominantly minority neighborhood where the property is located. Note:The following two links are not-applicable for text-based browsers or screen-reading software. Show Hide Full Abstract
Related Items: Show Related Items
Full-Text Availability Options:
More Info: Help Tutorial Help Finding Full Text
ERIC does not have permission to provide full text for this record. Click here to learn about other options.More Info: Help Tutorial More Info: Help Find in a Library
Link to the nearest library that lists the selected article or book among its print or electronic holdings.More Info: Help Publisher's Web Site
Purchase the item, link to free full text, or learn about the publication via this publisher-provided link.

20/3/52

งานค้นวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม

อนุกรมวิธาน นิเวศวิทยา พืชกลุ่มเฟินที่เป็นพืชอิงอาศัย และพืชเกาะหิน บริเวณดอยเชียงดาว เชียงใหม่
Taxonomy and ecology of epiphytic and lithophytic ptericophytes at Doi Chiang Dao, Chiang Mai

cert.pdf
ref.pdf
chapter5.pdf
chapter4.pdf
chapter3.pdf
chapter2.pdf
chapter1.pdf
toc.pdf
ack.pdf
abst.pdf
tp.pdf
appdx.pdf

งานค้นebook

0599170476
Pub. No.
9918063
Author
Chaivisuthangkura, Parin.
Title
Characterization of the role of apoplastic invertase in plant development.
Physical
189 p.
Note
Source: Dissertation Abstracts International, Volume: 60-02, Section: B, page: 0487.

Adviser: Johann Peter Gogarten.
Dissertation Note
Thesis (Ph.D.)--The University of Connecticut, 1998.
Summary
The cell wall acid invertase has been proposed to be involved in establishing metabolic sinks by maintaining a steep sucrose concentration gradient between source and sink organs. Sucrose unloaded to the apoplast is converted to hexoses by cell wall invertase, thereby allowing the continued efflux of sucrose from the phloem. Hexose molecules are further transported to sink tissues by hexose/H+ symporters. The cooperation of hexose transporters and extracellular cell wall invertase is important for providing non photosynthetic tissues with organic compounds.

Using reverse genetics the role of cell wall invertase in higher plants has been investigated. Transgenic carrots expressing carrot cell wall invertase in both sense and antisense orientation or a reporter gene under the direction of either an ethylene inducible promoter or a tissue specific promoter were generated. The transgenic carrot calli expressing sense construct under the ethylene inducible promoter show reduced apoplastic invertase activity relative to the control. The reduction of cell wall invertase could be due to cosuppression.

A second generation of Arabidopsis antisense constructs were generated. Defined regions within the third exon of Arabidopsis cell wall invertase isoform 1 (AINV1) and isoform 2 (AINV2) were cloned in antisense orientation behind the CaMV 35S promoter. Two independently transformed lines of AINV1 antisense plants display a short silique phenotype. Anthers in these two transgenic lines fail to extend beyond the stigmas. As a result siliques of these two transformants contain a large number of unfertilized ovules and a small number of developing seeds due to a perturbation in the development of the stamens. Data on reciprocal crosses between wild-type and transgenic lines indicate that the antisense transgene has no effect on the functionality of pollen grains and carpel development after pollination. Western analyses indicate that apoplastic invertase was increased in flowers and siliques of these two transformants. Northern blot data showed that this increase was due to a higher expression of AINV2 transcripts. The cause of this stimulation may be a physiological compensation in AINV1 antisense plants. The obtained data provide evidence for the function of invertase in sink tissue development and the interrelationships of invertase isoforms in higher plants.
Subject
Biology, Molecular. (271)

Biology, Plant Physiology. (26)

Agriculture, Plant Culture. (14)
University
The University of Connecticut. (19)
Host Item Entry
Dissertation Abstracts International 60-02B.
Advisor
Gogarten, Johann Peter, advisor
Degree
Ph.D.
Year
1998
URL Object
Pdf File